ชื่อ/ กลุ่ม น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม ชื่อประธานกลุ่ม นายพรเลิส เลี่ยนเครือ
ที่มา : http://inspire-arti3314.blogspot.com/2012_06_01_archive.html
ที่มา : http://inspire-arti3314.blogspot.com/2012_06_01_archive.html
ชื่อ-สกุล ผู้ประกอบการ | นายพรเลิศ เลี่ยนเครือ |
ที่อยู่ | 55/3 หมู่3 ต.ทุ่งทอง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี |
หมายเลขโทรศัพท์และโทรสาร | 081-8505302, 087-0783940 |
E-mail /Website | - |
ผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน | กลุ่มดําเนินกิจกรรมแปรรูปผลผลิต จากน้ําตาลมะพร้าวน้ําหอมได้แก่ 1.น้ําตาลมะพร้าวน้ําหอมบรรจุปี๊บ 2.น้ําตาลมะพร้าวน้ําหอมบรรจุกล่อง พาสติก(น้ําหนัก1กิโลกรัม) 3.น้ําตาลมะพร้าวน้ําหอมบรรจุถุง พาสติก(น้ําหนัก1กิโลกรัม) 4.น้ําตาลสด ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ นำมาเข้าโครงการพัฒนาร่วมกับทาง โครงการ คือน้ำมันมะพร้าว 100% โดยพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์และ บรรจุภัณฑ์ |
ผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน
ปัจจุบันทางผู้ผลิตมีการผลิตน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมสองประเภทคือน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมแบบพาณิชย์กับหัวน้ำตาลมะพร้าวแบบ100%น้ำตาลมะพร้าวที่มีส่วนผสมน้ำตาลทรายแดง40%น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม60%เพื่อให้มีการแข็งตัวอย่างรวดเร็วและสะดวกในการบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการขายแบบขายส่งละขายปลีกแบบเร่งด่วนโดยใช้ระยะเวลาในการแข็งตัว 20 นาที ทางผู้ประกอบการจึงไม่ต้องการให้ออกแบบและพัฒนาทั้งสินค้าและบรรจุภัณฑ์ใหม่มากนัก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบบก้อนๆได้รับความนิยมมากในกลุ่มแม่ค้าเนื่องจากสะดวกในการนำไปใช้งานได้ทันทีการบรรจุภัณฑ์มี 3 แบบ
1.บรรจุลงในภาชนะประเภทปิ๊บ ปริมาณ 29 กิโลกรัม ราคา 800 บาท
2.บรรจุภัณฑ์พลาสติกใส ผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปด้วยถ้วย ใช้ในการขายประเภทของที่ระลึก 800 กรัม
ราคาขายส่ง 35 บาท ราคาขายปลีก 45 บาท
3.บรรจุภัณฑ์แบบพลาสติกทรงกระบอกมีฝาปิด ใช้ขายเป็นของที่ระลึก
4.บรรจุภัณฑ์แบบพลาสติกใสมัดปากถุงด้วยยาง ผลิตภัณฑ์ควบคุมระยะเวลาในการต้มให้สั้นลงเพื่อให้น้ำตาลมีลักษณะเหลวเพราะเป็นข้อจำกัดในการจัดส่งสินค้า ร้านสีฟ้า ที่บังคับว่าไม่ควรมีบรรจุภัณฑ์ปกปิดน้ำหนัก 1000 กรัม ราคาขายส่ง 30 บาท ราคาขายปลีก 38 บาท
ส่วนน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมประเภทที่สองคือน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมที่ได้จากการหัวมะพร้าว 100% ซึ่งคุณสมบัติของหัวน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมเมื่อนำมาคั่วทำให้มีการแข็งตัวไม่มากหนัก มีระยะเวลาในการเก็บรักษาประมาณ 30 วัน (ในอุณหภูมิห้อง) ซึ่งมีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นแบบกล่องทรงกระบอก และเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติก
ปัจจุบันสภาพ/ปัญหาที่เกิดขึ้น/ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์
เพื่อส่งออกไม่ทันเนื่องจากความต้องการของลูกค้ามีมากทำให้การผลิตต้องเร่งรีบมากขึ้นโดยผู้ประกอบการได้เพิ่มศักยภาพในการผลิตมากยิ่งขึ้นด้วยเครื่องใช้เตาไอน้ำซึ่งผลผลิต 1 ตันระยะเวลเพียงหนึ่งชั่วโมง โดยถ้าหากใช้เตาเผาจะได้แค่วันละ 1 ตันเท่านั้นเนื่องจากสินค้าน้ำตาลพาณิชย์ได้รับความนิยมมากแบบการขายส่งจึงทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งรีบผลิตมากขึ้น
จึงไม่ต้องการพัฒนาสินค้ามากหนักส่วนน้ำตาลที่เป็นน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม100%เป็นที่ต้องการของลูกค้าที่เป็นกลุ่มแม่ค้าสำหรับซื้อไปประกอบอาหารขายและมีคุณสมบัติที่พิเศษจากน้ำตาลพาณิชย์ทำให้ผู้ประกอบการต้องการที่จะพัฒนาสินค้าที่เป็นน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100%
ขั้นตอนการทำน้ำตาลมะพร้าวหอม
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
1. เริ่มจากเลือกงวงมะพร้าว ที่อยู่บนต้นมะพร้าวต้องเป็นงวงที่สมบรูณ์เพื่อที่จะนำมาทำน้ำตาลใสก่อนขั้นตอนแรก
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
2. ปาดปลายของงวงมะพร้าวที่เลือก
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
3.โน้มงวงมะพร้าวโดยเชือกมัดเพื่อให้งวงมะพร้าวผลิดน้ำใสไหลออกมาตามท่อของงวงที่เราโน้มใว้ได้สะดวก
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
4.นำกระบอกมารองรับน้ำตาลใสที่หยดออกมาตรามท่อของงวงมะพร้าวที่เราปาด
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
5.พอได้น้ำตาลสเราก็นำน้ำตาลใสมากรองขยะออก โดยใช้ผ้าขาวมากกรอง จากนั้นนำน้ำตาลใส ที่กรองได้มาเคี่ยวไฟที่มีอุณภูมิที่ร้อนจัด ขณะที่เคี่ยวต้องเติมน้ำตาลทรายลงไปด้วย
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
6.เมื่อเคี่ยวจนได้ที่แล้วก้อนำร้ำตาลมากรองเศษผงอีกรอบ แล้วนำมาเข้าเครื่องปั่นจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
7.นำน้ำตาลที่ปั่นแล้วมาหยอดใส่ภาชนะตามที่เราต้องการ
6.เมื่อเคี่ยวจนได้ที่แล้วก้อนำร้ำตาลมากรองเศษผงอีกรอบ แล้วนำมาเข้าเครื่องปั่นจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
7.นำน้ำตาลที่ปั่นแล้วมาหยอดใส่ภาชนะตามที่เราต้องการ
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
8.ปล่อยให้น้ำตาลเย็น แล้วนำออกจากภาชนะ และบรรจุใส่ถุงหรือบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและออกจำหน่ายต่อไป
ปัญหาทางด้านงานออกแบบและบรรจุภัณฑ์
1. แบรนด์ “ ไผ่ริมแคว” ยังไม่แสดงให้รู้ถึงว่าผลิตภัณฑ์นั้นคืออะไร
2. โลโก้ยังไม่ได้มีการออกแบบ
3. ใช้เพียงฉลากสติกเกอร์วงกลมรีติดลงบรรจุภัณฑ์เท่านั้นโดยบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดจะเป็นการซื้อมาแล้วบรรจุเองเท่านั้น
ความต้องการในการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์
ความต้องการของกลุ่มน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมคือต้องการให้สร้างบรรจุภัณฑ์และพัฒนาสินค้าน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% โดยอาจใช้แบรนด์ ไผ่ริมแคว เดิม หรือใช้ชื่อใหม่ก็ได้
1.ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
2.บรรจุภัณฑ์
3.วัสดุประกอบร่วม
4.กราฟฟิก
5.อาร์ตเวิร์ค
6.เอกสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น